เนื่องจากเริ่มไม่ค่อยมีเวลาอัพเดต2บล็อคพร้อมๆกันแล้ว
เลยตัดสินใจหยุดการอัพเดตบล็อคนี้
แล้วรวมไปกับเว็ป GISGISGISเลยดีกว่า...ดังนั้นจากเป็นต้นไป
ตามอ่านได้ที่เว็ป GISGISGIS ที่เดียวนะครับ

ขอบคุณครับ : )
http://gisgisgis.blogspot.com
http://www.facebook.com/GISGISGISblog


31 March 2010

track | talking heads: "this must be the place (naive melody)" (1984)


Talking Heads: "This Must Be the Place (Naive Melody)"
from Speaking in Tongues (1983)
[live version from Stop Making Sense (1984)]

D/Em/C/Em คือคอร์ดสี่คอร์ดที่วนไปตลอดทั้งเพลง ...อืมสมกับคำสร้อยท้ายชื่อเพลงที่ว่า 'ทำนองอันไร้เดียงสา' (Naive Melody)จริงๆ -- นี่คือเพลงที่มีโครงสร้างที่เรียบสุดๆจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะรองรับเนื้อหาที่แสนยิ่งใหญ่...คำยากๆอย่าง'ความหมายของชีวิต' หรือ 'ความสุขของชีวิตคืออะไร?'ไว้ได้ ...พร้อมดื่มด่ำไปกับดนตรีซินธ์ กีต้าร์ฟังค์ตุ่นๆ เสียงร้องหน่อๆของDavid Byrne ฟังแล้วรู้สึกว่า อ่า...โลกนี้ช่างสวยงามและเปี่ยมไปด้วยความหวังเหลือเกิน ช่วงชีวิตเล็กๆของเรานั้นโชคดีเหลือเกินที่ได้มีส่วนร่วมในเสี้ยวเล็กๆในประวัติศาสตร์ของจักรวาลอันยาวไกล ยิ่งได้ดูวีดีโอคอนเสิร์ตStop Making Senseในตำนานแล้ว... ภาพDavid Byrneเต้นรำกับโคมไฟยิ่งตอกย้ำว่ารอบตัวเรานั้นมีแต่ความมหัศจรรย์ ไม่ว่าจะจากเพื่อนมนุษย์ ธรรมชาติ หรือสิ่งของไร้ชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้น ...มาเถิด เต้นรำกับโคมไฟใต้ทำนองอันไร้เดียงสา ..."I'm just an animal looking for a home Share the same space for a minute or two"... (ปล. ชมเวอร์ชั่นcoverโดย Arcade Fire ที่นี่ และอีกเวอร์ชั่นจ๊าบๆ...ที่นี่ )

27 March 2010

track | zola jesus: "i can't stand" (2010)

http://userserve-ak.last.fm/serve/500/39187195/Zola+Jesus.jpg
Zola Jesus: "I Can't Stand"
from Stridulum EP (2010)

คีย์เวิร์ดวันนี้คือ Goth Rock แนวดนตรีในยุค80sที่นำเอาความก้าวร้าวของกระแสฟังค์มาแต่แสดงออกในเชิงหดหู่มืดหม่นมากกว่าเชิงทำลายล้าง เป็นอารมณ์เศร้าลึกไม่แสดงออกเก็บไว้ในใจ (เด็กอีโม?) แต่งชุดดำ ทาตาดำ อะไรแบบนั้น -- ในที่สุดแนวนี้มันกลับมาแล้ว ฟังเสียงร้องแบบ ใหญ่ๆหนักๆโทนต่ำๆ ของNika Roza Danilovaแห่งZola JesusในEPชุดนี้แล้ว ต้องนึกถึงหน้าอมทุกข์ๆขอบตาดำ ไฟสลัวๆแน่ๆ -- แต่ผมก็ยังรู้สึกว่ามันก็เป็นการนำเสนอในเชิงดนตรีร่วมสมัยมากกว่าการเลียนแบบของเก่า -- ความจั๊กกะจี้ของยุค80sถูกลดทอนด้วย(อาจจะเพราะ)เสียงซินธ์ที่ทำหน้าราวกับวงออสเคสตร้า และเอฟเฟ็กแอมเบี้ยนๆลึกลับๆที่ปกคลุมเพลง มันชวนนึกถึงดนตรีที่ทำในคอมพิวเตอร์ รวมถึงอารมณ์แบบดนตรีshoegazeนิดๆด้วย -- อีกหนึ่งแทร็กหลอนๆที่จะหลอกหลอนท่านแน่แท้

22 March 2010

track | four tet: "angel echoes" (2010)

http://userserve-ak.last.fm/serve/500/41439273/Four+Tet+fourtet_110509.jpg
Four Tet: "Angel Echoes"
from There Is Love In You (2010)

'เสียงสะท้อนของนางฟ้า' เก๋า...เก๋า...ตั้งชื่อได้เก๋าเลยทีเดียวสำหรับแทร็กเปิดอัลบัมของFour Tet ศิลปินเทคโนแบบน้อยนิดมหาศาล เสียงนางฟ้าคือการแซมป์เสียงร้องของนักร้องสุภาพสตรี(ซึ่งผมไม่รู้หมือนกันว่าต้นฉบับมาจากงานของใคร)โดยเขาคัด/หั่น/แปะ จากท่อน'เือื้อนๆ' 'โหยๆ' แล้วโปรยๆลงมาช้าๆ ออกเป็นลูปเนิ่บๆเคลิ้มๆ ประดาประดาไปพร้อมๆกับเสียงดนตรีกรุ๊งกริ๊งที่ค่อยบีบคั้นอารมณ์ขึ้นทีละ้น้อยจนเราแทบไม่รู้สึกตัว -- ช่างเป็นการปฏิบัติต่อเสียงมนุษย์ราวกับมันเป็นเครื่องดนตรีอย่างปราณีตงดงามจริงๆ


21 March 2010

track | the abramson singers: "fool’s gold" (2010)

http://24.media.tumblr.com/tumblr_kzilegK4xF1qb118bo1_500.jpg
The Abramson Singers: "Fool’s Gold"
from The Abramson Singers (2010)

ศิลปินอินดี้โฟล์คแนวสาวๆประสานเสียง(แท้จริงมีสมาชิกคนเดียวคือ Leah Abramson อัดเสียงตัวเองซ้อนๆ) เป็นเพลงโฟล์คที่มีการเรียบเรียงเสียงร้องประสานหลายชั้นที่กลมกลืนอย่างมีสเน่ห์แบบลึกลับๆ ไปกันได้ดีกับโน้ตกีต้าร์ไฟฟ้าที่หย่อนไปตามทางทิ้งเป็นคำใบ้ปริศนา สร้างบรรยากาศลูกทุ่งๆแบบหม่นๆชื้นๆ ฟ้ามืดคล้ายฝนจะตก อีกหนึ่งเพลงที่ฟังครั้งแรกอาจจะรู้สึกธรรมดา แต่ถ้าให้โอกาสมันซักนิดจะพบว่าเลเยอร์มากมายทซ้อนทับอยู่ในรูปลักษณ์เรียบๆของมัน

17 March 2010

track | how to dress well & cokc dokc:"ready for the world" (2010)


How To Dress Well & Cokc Dokc:"Ready For the World"
from Friday Morning Hymnal EP (2010)

ผมก็ไม่ค่อยรู้ว่า How To Dress Well และ Cokc Dokcคือใคร... ผมไ่ม่ีรู้ด้วยซ้ำว่ารูปข้างบนที่ผมขโมยจากlastfmของพวกเขาคืออะไร? ...ลองsearchดูก็พบว่าฝ่ายแรกเป็นโปรดิวเซอร์อินดี้จากนิวยอร์ค อีกฝั่งเป็นศิลปินจากCologne ออกEPบรรจุ5เพลงนี้มาก ก่อนเริ่มกระจายไปทั่วinternetไปซะพักผ่านblogทางการของพวกเขาเอง -- หลักจากฟังครั้งแรก ความรู้สึกผมออกไปทางแง่ลบ ผมสัมผัสแต่clicheของดนตรีลอยๆ ทำในคอมพิวเตอร์ในห้องนอน บิ้วให้เราหลับตาฟังฟุ้งๆ

แต่พอลองฟังอีกหลายๆรอบก็พบว่า เอ๊ะ ใช้ได้แหะ มันมีสเน่ห์ลูกเล่นอะไรที่เจ๋งทีเดียว สิ่งแรกคือเสียงกลองก๊องๆที่เคาะน้อยๆ หยาบๆไปตลอดทั้งเพลง ผมจินตนาการถึงกระบวนการขโมยบีตของดนตรีdub step แล้วย่อยให้ออกมาเป็นป็อป4ห้องเข้าใจง่ายๆ น่าเหลือเชื่อที่โครงสร้างบางๆอย่างงี้ คุมดนตรีแสนฟุ้งได้อยู่หมัด แถมยังสร้างจังหวะนุ่มนวลชวนฝันแบบsurrealแปลกๆอย่างบอกไม่ถูก กลมกลืนกับเสียงเบสที่ผมอยากเรียกว่า"เสียงหัวใจเต้นช้าๆ"เสริมความสะเทือนใจหม่นๆเข้าไปกับเสียงร้องโหยหวนจับใจความไม่ได้ ราวกับเป็นเสียงจากความทรงจำที่เลือนลาง ...เสพติดจริงๆเพลงนี้

track | big star: "thirteen" (2010)


Big Star: "Thirteen"
from #1 Record (1972)

ผมรู้จัก Big Star ครั้งแรกจากลิสต์500เพลงยอดเยี่ยมตลอดกาลที่จัดโดยRolling Stonesเมื่อหลายปีก่อน และแปลกใจที่ว่า วงชื่อสุดเห่ยที่ผมไม่เคยรู้จักมาก่อนวงนี้ ทำไมถึงมีเพลงติดถึงสามเพลง ทั้งๆที่ออกมาเพียง3อัลบัม -- หลังจากทำความรู้จักกับพวกเขา ทำให้ผมสำนึกว่า วงนี้สมควรถูกยกย่องมากกว่านี้หลายเท่านัก

ในวาระที่ Alex Chilton เสียชีวิต ผมต้องพูดถึงหนึ่งในงานของเขาในวง Big Star(แต่งร่วมกับ Chris Bell)เพลงที่สะท้อน"การก้าวข้ามสู่วัย" ได้งดงามที่สุดเพลงหนึ่งในประวัติศาสตร์ร็อคแอนด์โรลล์ มองผ่านสายตาไร้เดียงสา ...พูดให้ชัดกว่านี้ เพลงนี้คือด้านบริสุทธิ์ของโลกร็อคแอนด์โรลล์ แนวดนตรีที่เป็นที่พึ่งทางใจให้คนหนุ่มสาวมาหลายยุคสมัย -- ขอสดุดีต่อคุณค่าของจิตวิญญาณร็อคแอนด์โรลล์ "...Won't you tell your dad, "Get off my back" / Tell him what we said 'bout 'Paint It Black' / Rock 'n Roll is here to stay / Come inside where it's okay / And I'll shake you. "

track | kavinsky: "nightcall (breakbot remix)" (2010)


Kavinsky: "Nightcall (Breakbot Remix)"
from Nightcall EP (2010)

Kavinsky คือศิลปินอิเล็กโทรนิคมาแรงจากฝรั่งเศส เจริญรอย Daft Punk หรือ Justiceศิลปินร่วมชาติ เพื่อเขย่าวงการด๊านซ์สนั่นฟลอร์ -- เพลงNightcallต้นฉบับ(ซึ่งผมก็ชอบทีเดียว-- ฟังดู ฝรั่งเศสๆ Daft Punkๆ เก๋ไก๋ดี...)จากEPชื่อเดียวกันนั้น มีเวอร์ชั่นRemixออกมามากมายพอตัว แต่ผมก็มาสะดุดหูกับเวอร์ชั่นนี้ของ Breakbot ศิลปินร่วมชาติซึ่งผมเคยประทับใจผลงานรีมิกซ์ของเขาในงานของ Air และ PNAU รวมถึงงานของเขาเองที่ชื่อ "Baby I’m Yours feat. Irfane"

Breakbotมักจะจับเพลงต้นฉบับมาแต่งตัวเป็นอะไรดิสโก้ๆ ซินธ์แป๋นๆแต่เท่ห์ไม่เสี่ยวๆ เบสหนักๆบีตแรงๆแต่ฟังเพลินๆรื่นหูผ่อนคลาย กีต้าร์ฟังค์ๆ ฟังแล้วรู้สึกถึงแสงไฟหลากๆสีว้าบๆ บรรยากาศปาร์ตี้ๆกลางคืนๆแอลกอฮอล์ๆ หลับตาโยกเบาๆปลดปล่อยอารมณ์ไปกับเสียงดนตรีสังเคราะห์ "There's something inside you. It's hard to explain."

ปล. เพลงนี้มีแขกรักเชิญคือ Lovefoxxx นักร้องนำจาก CSS

16 March 2010

track | joanna newsom: "on a good day" (2010)

http://userserve-ak.last.fm/serve/500/23015787/Joanna+Newsom+++19.jpg
Joanna Newsom: "On a Good Day"
from Have One On Me (2010)

สำหรับผม ทุกอัลบัมของJoanna Newsom คือ งานระดับมาสเตอร์พีซ... ตั้งแต่ The Milk-Eyed Mender และ Ys ผมยังสามารถหยิบมาฟัง'ลึกๆ'ได้เสมอๆ บ้างว่าเธอคือ สาวอินดี้ฮิปๆ บ้างว่าเธออยู่ในกระแสFreak Folkช่วงกลางยุค00s แต่ผ่านมาสามอัลบัมน่าจะยืนยันได้แล้วว่า่ Joanna Newsomคือตัวของตัวเอง เธอคือของจริงแท้ ถ้าจะเทียบให้ถูกรุ่นน่าจะพูดถึงศิลปินหญิงโฟล์ครุ่นเดอะอย่าง Joni Mitchell หรือ Vashti Bunyan ...หรือ Kate Bush ในแง่พลัง(และเสียงอันเป็นเอกลักษณ์) ...ซึ่งผมก็แพ้ทางศิลปินสาวมั่นสุดเก๋อยู่แล้ว

Have One On Me เป็นอัลบัม3แผ่น เต็มไปด้วยเพลงความยาวเกิน6นาทีมากมาย แต่อย่าได้หวาดหวั่น ค่อยๆฟังไป ค่อยซึมซับไป... แตุ่้ถ้าท่านยังกล้าๆกลัวๆ ก็แนะนำให้เริ่มต้นด้วย "On A Good Day"เพลงความยาวไม่ถึงสองนาทีนี้ได้ มันเ็ป็นโฟล์คธรรมชาติเรียบง่าย กึ่งเล่าเรื่อง กึ่งอาลัย กึ่งเอื้อนเอ่ยบทกวี ไหลนิ่งๆ ไร้ท่อนฮุก ไร้ความพยายามที่จะสร้างจุดเด่น เมโลดี้ซ้ำวน4รอบถ้วนง่ายๆ -- แต่ด้วยน้ำเสียงทรงสเน่ห์ของเธอ บวกกับHarpตัวเดียว และ ความเงียบแห่งที่ว่างที่ห่อหุ้มเพลงนี้อยู่ ทำให้เพลงนี้ร่ายมนต์สะกด ให้ตราตรึงใจเราตั้งแต่คำแรกที่ที่เธอเอ่ยออกมา อีกทั้งความสั้นของเพลงยิ่งทิ้งให้เราคิดคำนึงถึงมันยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อมันจบลง

"Hey hey hey, the end is near...On a good day, you can see the end from here."

14 March 2010

track | gorillaz: "rhinestone eyes" (2010)


Gorillaz: "Rhinestone Eyes"
from Plastic Beach (2010)

ฟังอัลบัมล่าสุดของGorillazกันยัง? หลังจาก Damon Albarn หนีไปทำside-projectของเขาที่เป็นคอนเสิร์ตวงบริทป็อปชื่อBlur(หรืออะไรซักอย่างนี่แหละจำไม่ค่อยได้ วงไม่ค่อยดัง)อยู่พักหนึ่ง ถึงเวลาที่เขาจะได้กลับมาทำวง(เรียกว่าวงได้ไหม?)หลักของเขาเสียที -- กลับมาครั้งนี้วงการ์ตูนวงนี้ดูหนักแน่นทะเยอทะยานกว่าครั้งไหนๆ ทั้งคอนเส็ปอัลบัมแข็งแรงๆ โปรดักชั่นหรูๆ โปรโมตโครมคราม พร้อมแขกรับเชิญชื่อดังมากมาย

หลังจากฟังจบไปหลายรอบ ผมขอด่วนตัดสินว่านี่น่าจะเป็นอัลบัมที่ดีที่สุดของ Gorillaz... มีหลายแทร็กที่โดดเด่นพอที่จะเป็นซิงเกิ้ลฮิตได้สบายๆ แต่เพลงที่โดดเด่นออกมาที่สุดน่าจะคือ"Rhinestone Eyes"เพลงนี้นี่แหละ น่าสนใจที่ว่านี่เป็นหนึ่งในไม่กี่เพลงในอัลบัมที่ไร้แขกรับเชิญ มีเพียงDamon Albarn ฉายเดี่ยว มันโดดเด่นพอที่จะขึ้นอันดับหนึ่งในlastfmของGorillaz ทั้งๆไม่ถูกโปรโมตเป็นซิงเกิ้ล หรือ mp3

แทนที่จะมีแร็ปเปอร์ เพลงนี้ใช้การ 'ร้องไปบ่นไป' ของDamonแทน (สไตล์ร้องนี้ชวนนึกถึงLou Reed) ซึ่งจะว่าไปก็เข้ากับบุคลิกกวนๆของเจ้า 2-Dไม่น้อย แต่ยังไงขณะฟังก็สลัดหน้าของDamon Albarnไม่ออก -- ผมประทับใจฝีมือการเรียงร้อยเมโลดี้ที่โคตรcatchyกวนๆติดหูชวนโยกหัว การใช้ภาษาที่แสนสละสลวยคล้องจองกลมกลืน เข้ากับดนตรีแบบเปี่ยมอิทธิพลของซินธ์เรียบๆแต่เก๋ ออกมาเป็นเพลงมองโลกแง่ร้ายที่มองโลกในแง่ดี(งง?)แบบสบายผ่อนคลายๆแต่จริงจังและตั้งใจ แม้น้ำเสียงจะฟังดูเบื่อหน่ายสันหลังยาว แต่มันไม่ได้แสดงความท้อแท้ แต่เป็นอารมณ์แบบเสียดสีๆเท่ห์ๆแบดบอยๆ -- บางอย่างชวนผมนึกถึงเพลงช้าบางเพลงในThink Tankนิดๆ จากเมโลดี้เพราะๆในบรรยากาศธรรมชาติๆ

ปล แถมอีกเพลงในอัลบัมที่เป็นDamon Albarnฉายเดี่ยว ชื่อ"On Melancholy Hill"

13 March 2010

track | john lennon: "imagine" (1971)


John Lennon: "Imagine"
from Imagine (1971)

*บทความนี้เริ่มแรกเขียนเพื่อแสดงความเห็นในFacebookของท่านหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับบทแปลเพลงImagineโดยคุณจิก ประภาส ในนิตยสาร A Day*

ส่วนตัวผมว่า Imagine เป็นเพลงที่overrated ห่างไกลจากท็อป5เพลงที่ดีที่สุดของJohn Lennonสำหรับผมมามากมายหลายโข ไม่ได้หมายความว่าเป็นเพลงที่แย่ มันเป็นเพลงที่ดีและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากมาย แต่มันถูกพูดถึง ให้ความสำคัญเกินหน้าเกินตาเกินไป หลายครั้งจากคนที่ไม่ใช่คอดนตรี ด้วยซ้ำ (...ให้ตายเหอะ ผมอยากเห็นคนเก๋ๆ วิเคราะห์เพลงของPaul McCartney มั้งจัง! อะไรอะไรก็เลนน่อน)

จากการศึกษาเพลงของBeatles และ Lennonมาพอสมควร ผมพบว่าเนื้อเพลงของLennonโดยเฉพาะในงานเดี่ยวของเขา ส่วนมากไม่ได้เกี่ยวกับสันติภาพ หรือ ปรัชญาอะไร แต่เกี่ยวกับ "นาย Lennon คิดเรื่องสันติภาพและปรัชญา" กล่าวคือ เป็นการเล่ามุมมอง กระแสสำนึกของเขา ณ ขณะนั้น ไหลออกมา ตรงไปตรงมา (งานเดี่ยวของเขา มักจะมีเนื้อเพลงง่ายๆ ชื่อเพลงอย่าง Love, God, Women, Oh Yoko,... ซึ่งล้วนแต่เป็นมุมมองของเขา) ฉะนั้น จะวิเคราะห์อะไรก็แล้วแต่เกี่ยวกับเพลงของLennon อาจต้องใส่ตัวเลนน่อนเข้าไปเป็นตัวละครในเพลงด้วย เพราะที่สุดแล้วมันเกี่ยวกับเขานั้นแหละ Imagineคือเพลงเกี่ยวกับนายเลนน่อนคิดเรื่องสันติภาพ

กรณีการแปลนี้ ผมคิดว่าประเด็นที่ว่า'ผู้แปลพยายามแปลให้ภาษาสวย' ผมมองว่าภาษาของเลนน่อนในเพลงนี้นั้น 'ไม่สละสลวย' เต็มไปด้วยคำธรรมดาเรียบๆ ท่อนซ้ำวนๆรีไซเคิล ท่อนAnd no religion too ทำผมอมยิ้มเล็กๆด้วยซ้ำ แหมพี่เลนน่อนเติมเนื้อไปแปะง่ายๆเพราะอยากใส่คำเก๋ๆอย่างศาสนา And no religion too ง่ายๆงี้อะนะ ...ดังนั้น การคิดจะแปลเพลงนี้ในสวยในเชิงกวี ผมว่ามันก็ฟังดูขัดๆอยู่แล้ว และทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ผู้แปลกำลังพยายามอย่างเกินตัวที่จะคั้นอะไรจากเลนน่อน ด้วยมุมมองที่มองเลนน่อนในฐานะIconของโลก/ศาสดา/รูปprofile facebookเก๋ๆ มากกว่าเลนน่อนในฐานะศิลปิน นักแต่งเพลง มนุษย์มีเนื้อมีหนัง (ผมอยากเห็นท่านนั้นแปลท่อนนี้จัง I am the walrus, goo goo g'joob ข้าคือพญาแมวน้ำ คำรามผยองกูกู้!!! ....?) แต่ไม่ได้ความหมายว่าผิด ไอเดียก็น่าสนใจดี ถ้าออกมาเจ๋งก็คงจะดี แต่ว่ามันออกมาไม่เจ๋ง อ่านแล้วมันกระอั่กกระอั่กกระอ่วน ออกมา'A Day'เหลิือเกิน ผมอยากเห็นแปลแบบเรียบๆแต่คงความเก๋ไว้ได้มากกว่าครับ

ชอบมุมมองของความเห็นหนึ่งข้างบนๆที่พูดถึงว่า ผู้แปลไม่กล้าแตะท่อนAnd no religion too(เลี่ยงแปลว่า "หยุดบ่มคำที่แบ่งคน" ) สะท้อนอะไรในสังคมไทยยุคนี้ได้น่าสนใจจริงๆ

12 March 2010

track | pavement: "here" (1992)

http://userserve-ak.last.fm/serve/_/27092473/Pavement.jpg
Pavement: "Here"
from Slanted and Enchanted (1992)
[also from Quarantine the Past: The Best of Pavement (2010)]

วันสองวันนี้ได้ถอยอัลบัมรวมฮิตของ Pavementออกมา(อย่างผิดกฏหมาย) เพราะได้ข่าวจากหลายแหล่งว่าเป็นการรวมฮิตที่เวิร์คใช้ได้ทีเดียว [เป็นอัลบัมรวมฮิตที่ออกมาสอดรับการวาระการreunion tourของพวกเขา]// ผมเองก็หยิบ2อัลบัมแรกของพวกเขาบ่อยๆ อัลบัมรวมฮิตตัวนี้เลยเป็นเครื่องมือทบทวนอัลบัมอื่นๆของพวกเขาที่ผมไม่ค่อยได้ฟังละเอียดเท่าไร แต่ๆไปมาๆก็กลับมาหลงรักเพลงจากอัลบัมแรกของพวกเขาอยู่ดี

เข้าเรื่องเลย...เพลง 'Here' เป็นหนึ่งในเพลงช้าในอัลบัมคลาสสิกแห่งวงการอเมริกันอัลเตอร์เนทีฟ คอร์ดกีต้าร์ไฟฟ้าเปลือยๆ ตามจังหวะไหลๆคอร์ดง่ายๆวนๆ เหมือนซ้อมเพลงร็อคๆจนเหนื่อย เลยนั่งพักสับกีต้าร์เล่น อารมณ์เพลงชวนให้นึกชีวิตนักศึกษา ...ห้องซ้อมดนตรีโทรมๆ ...งานดนตรีที่คณะ ...ล้อมวงดีดกีต้าร์ ...เล่นมุขเสี่ยวๆ (...the jokes are always bad..) ได้ฟังท่อนเปิดที่ร้อง "I was dressed for success, but success it never comes" ชวนผมนึกถึงอารมณ์งานรับปริญญา ที่แม้จะเปี่ยมความยินดีปรีดาแต่ก็มีความความหวั่นไหวสับสนไปพร้อมกันด้วย ยิ่งตอกย้ำด้วยท่อน "Let's spend our last quarter stance randomly" สะท้อนถึงความอิสระแห่งวัยเยาว์ได้ดีเยี่ยม // ...การฟังเพลงนี้ในวันนี้ ณ.เวลาที่ Pavement และยุค 90s กลายเป็นของโบราณ กลายเป็นสิ่งคลาสสิก กลายเป็นความทรงจำไปแล้ว ยิ่งสร้างมิติใหม่ๆให้เพลงอย่างน่าสนใจ ให้เราทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเราจากการฟังครั้งแรกถึงวันนี้? เกิดอะไรขึ้นกับตัวละครในเพลง(หรือตัวละครในเพลงคือ ตัววงเองนั่นแหละ ที่พูดถึงสถานะของวง ณ.ขณะนั้น -- ถ้าเป็นงั้น ต้องถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับวงอินดี้วัยรุ่น ที่ตอนนี้กำลังจะมี World Tour ด้วยสถานะวงโมเดิร์นคลาสสิก) ...ครับ